แนะนำสุนัขสายพันธุ์ ไจแอนท์ ‘Alaskan Malamute’

Alaskan Malamute เป็นหนึ่งในสุนัขพันธ์ใหญ่ ทำหน้าที่ลากเลื่อนแถบ Arctic ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธ์โบราณที่สุด อีกทั้งยังถูกจำสับสนกับสุนัขสายพันธุ์ Siberian Husky อยู่บ่อยๆ สำหรับสุนัขพันธุ์นี้มีกระดูกใหญ่ หนัก บริเวณไหล่มีความแข็งแรง อกลึก ทำให้มีความสามารถพิเศษ อยู่บริเวณเดินทางอันยากลำบากได้ และอยู่ในภูมิอากาศอันหนาวเย็นได้ หากแต่ถึงอย่างไรก็ตาม ‘Alaskan Malamute’ ก็ยังเหมาะจะเป็นสัตว์เลี้ยงอันเป็นมิตร อีกทั้งยังเป็นสมาชิกในครอบครัว ที่พร้อมจะให้มอบความรักให้แก่ผู้เลี้ยงอีกด้วย

ลักษณะทั่วไปของ ‘Alaskan Malamute’

ช่วงตัวยาวกำลังพอดี กระดูกมีความแข็งแรง หนัก จึงทำให้มีความแข็งแรงและมีความอดทน จึงเหมาะแก่การใช้ในการขนของหนักๆ มากกว่า นำไปแข่งเรื่องความเร็ว มีดวงตาเหมือนหมาป่า หากแต่ท่าทางการแสดงออกมีความนุ่มนวล ขน 2 ชั้น มีความหนาแน่น ขนข้างในจะเป็นขนเส้นเล็ก นุ่ม อบอุ่น ส่วนขนด้านนอกมีลักษณะยาวหยาบ ซึ่งช่วยป้องกันความเย็นได้เป็นอย่างดี

นิสัยอารมณ์

ด้วยความที่เป็นสายพันธ์ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านาน จึงทำให้ ‘Alaskan Malamute’ เป็นสุนัขมีมารยาทงาม เรียบร้อยเวลาอยู่ในบ้าน หากแต่ก็ต้องการออกกำลังกายเพียงพอเพื่อปลดปล่อยพลัง รวมทั้งได้ฝึกกล้ามเนื้อ ถ้า ‘Alaskan Malamute’ ไม่ได้รับการออกกำลังกาย นิสัยก็จะเปลี่ยนกลายเป็นสุนัขที่มีอารมณ์หงุดหงิดง่าย พร้อมทำลายข้าวของต่างๆ ในบ้าน นอกจากนี้เป็นเรื่องที่น่าแปลกที่ ‘Alaskan Malamute’ เป็นสุนัขที่มีพลังมากๆ มักจะแสดงความดุร้ายต่อสัตว์ต่างๆ หากแต่กลับเข้าสังคมได้ดีกับสังคมมนุษย์และเป็นมิตรได้เป็นอย่างดี

วิธีการดูแล

ด้วยความที่ ‘Alaskan Malamute’ สามารถวิ่งในระยะทางไกล ได้อย่างทรหดอดทน เพราะฉะนั้นเขาจึงต้องการออกกำลังกายอย่างเพียงพอในแต่ละวัน ซึ่งสามารถพาเขาไปออกกำลังกายได้อย่างง่ายๆ ด้วยการวิ่งใส่สายจูงไปด้วยก็ได้ การที่สุนัขพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศหนาวเย็นจัด จึงชอบอากาศหนาวเย็นมาก เมื่อถึงช่วงหน้าร้อนจัดเจ้าของควรนำเขาเข้ามาเลี้ยงในบ้าน เพื่อป้องกันการเป็นลมแดด อาจหนักจนถึงขั้นเสียชีวิต ในส่วนของขนต้องการการแปรงอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง หากแต่จำเป็นต้องแปรงมากในช่วงผลัดขน

สุขภาพ

‘Alaskan Malamute’ มีอายุ 10 – 12 ปี โรคที่สามารถพบเจอได้บ่อยๆ ก็คือ โรคกระเพาะบิด , ชัก และความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท หากแต่ปัญหาหลักเกิดจาก ข้อสะโพกเสื่อม , ต้อกระจก เป็นต้น และเพื่อที่จะทำการตรวจสอบโรคเหล่านี้พร้อมรักษาเสียแต่เนิ่นๆ สัตว์แพทย์มักจึงมักตรวจตา , สะโพก รวมทั้งตรวจโรคกระดูกและข้อเสื่อมไปด้วย